บริษัท เทรนเนอร์ อิน ไทย จำกัด :: 02 328 2110

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ.2562 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

ทั้งนี้ หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามปประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 มีดังนี้

  1. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต
  2. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน
  3. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ
  4. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  5. หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  6. หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทางานในที่อับอากาศ

รายละเอียดหลักสูตร

หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หลักสูตรรวม 4 ผู้ (ระยะเวลา 4 วัน)

วันที่ 1
08.00 – 08.30 ลงทะเบียนเข้าอบรม
08.30 – 09.00 ทดสอบก่อนการอบรม (Pre-test)
09.00 – 16.30 อบรมภาคทฤษฏี (ระยะเวลา 6 ชั่วโมง)
ก. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ข. ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ค. การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน
และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ง. วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย (1 ชั่วโมง)
จ. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ
และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ฉ. ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย (30 นาที)
ช. บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
ในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน
ในที่อับอากาศ (30 นาที)

วันที่ 2
09.00 – 16.30 อบรมภาคทฤษฏี (ระยะเวลา 6 ชั่วโมง)
ซ. เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ
เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ฌ. เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ญ. การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว (30 นาที)
ฎ. การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจในที่อับอากาศเกิดขึ้น
จากการทำงานในที่อับอากาศ (30 นาที)
ฏ. อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกภัย (1 ชั่วโมง)
ฒ. เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย (1 ชั่วโมง)
ณ. การควบคุมดูแล การใช้เครื่องป้องกัน และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
(1 ชั่วโมง)

วันที่ 3
09.00 – 16.30 อบรมภาคทฤษฏี (ระยะเวลา 3 ชั่วโมง)
ฐ. การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
ฑ. การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (2 ชั่วโมง)
อบรมภาคปฏิบัติ (ระยะเวลา 3 ชั่วโมง)
ซ. การช่วยเหลือและช่วยชีวิต (1 ชั่วโมง)
ฌ. การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR) (1 ชั่วโมง)
ญ. สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (1 ชั่วโมง)

วันที่ 4
09.00 – 16.30 อบรมภาคปฏิบัติ (ระยะเวลา 6 ชั่วโมง)
ก. เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบ
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ข. เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ (1 ชั่วโมง)
ค. เทคนิคการตรวจสภาพพื้นที่และงาน ก่อนตัดสินใจอนุญาต (1 ชั่วโมง)
ง. เทคนิคในการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ (30 นาที)
จ. การอนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการสื่อสาร (1 ชั่วโมง)
ฉ. การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ (45 นาที)
ช. การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (45 นาที)
ทดสอบหลังการอบรม (Post-test)

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

(1) อายุ 18 ปีขึ้นไป
(2) มีใบรับรองแพทย์ว่าเข้าไปในที่อับอากาศได้
(3) มีวุฒิบัตร “การดับเพลิงขั้นต้น” ตามกฎหมาย

จำนวนผู้เข้าอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น

  • ภาคทฤษฎี วิทยากร 1 คน ต่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 30  คน
  • ภาคปฏิบัติ วิทยากร 1 คน ต่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 15  คน

การฝึกภาคปฏิบัติ

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการฝึกภาคปฏิบัติในสถานที่จริง หรือ มีลักษณะเหมือนสถานที่จริง และได้รับการฝึกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน

วิทยากรฝึกอบรม

วิทยากรที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย และได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

ขอใบเสนอราคาจัดอบรมอับอากาศ (in-house)

ตารางอบรม Public Training

หลักสูตร ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (รวม 4 ผู้)

เดือนวันที่อบรม
กุมภาพันธ์ 1-4 ก.พ.66
7-10 ก.พ.66
15-18 ก.พ.66
21-24 ก.พ.66
มีนาคม 1-4 มี.ค.66
8-11 มี.ค.66
15-18 มี.ค.66
22-25 มี.ค.66
28-31 มี.ค 66
เมษายน5-8 เม.ย.66
19-22 เม.ย.66
25-28 เม.ย.66
พฤษภาคม3-6 พ.ค.66
10-13 พ.ค.66
17-20 พ.ค.66
23-26 พ.ค.66
30 พ.ค.66-2 มิ.ย.66
มิถุนายน7-10 มิ.ย.66
14-17 มิ.ย.66
21-24 มิ.ย.66
27-30 มิ.ย.66

ค่าลงทะเบียน

ค่าลงทะเบียน : 8,500 บาท/ท่าน
ราคาพิเศษ : 8,000 บาท/ท่าน
(กรณีสมัครพร้อมกัน 3 คนขึ้นไป ในหลักสูตรและรุ่นเดียวกัน)
ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

สถานที่ฝึกอบรม

ศูนย์ฝึกอบรมเทรนเนอร์ อิน ไทย

ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 30 (ใกล้สวนหลวง ร.9 ประเวศ กทม.)